ส่วนที่1 CPU
       CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง 
              มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบ
       ข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้
       ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่ง
       ข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียก
       ว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น 
       เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณ
       นาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)
                          
       ส่วนที่หน่วยความจำ (Memory)
       จำแนกออกเป็น  2 ประเภท ดังนี้
                1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
                2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
       เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
               ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไป
       เก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการ
       นำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ  การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของ

        หน่วยความจำในการทำงานประมวลผล และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ 
       คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล 
       และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะ
       ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น

       หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
            หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU  มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ

    1.ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์




           2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
    
1.หน่วยความจำหลัก
          แบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ แรม (RAM)และหน่วยความจำแบบรอม”(ROM)


       1.1 หน่วยความจำแบบ แรม (RAM=Random Access Memory)
                 เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูล
       จะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่า
       จะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้
       ว่าหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
ลักษณะของหน่วยความจำ RAM


       1.2 หน่วยความจำแบบ รอม” (ROM=Read Only Memory) 
                 เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
       ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรม
       ไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่
       ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า
       หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
       ชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip)

       หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)

               หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษา
            ข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วหน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
       1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
       3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไป
           ยังอีกเครื่องหนึ่ง


        ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
                     หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ
             เพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บ
          ในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึง
             จำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อ
          ไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น               
              ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วย
          ความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงาน
             ได้ปกติ  
         
             ส่วนแสดงผลข้อมูล
                 ส่วนแสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าใน
         หน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์
         ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor)เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์
         ภาพ Ploter และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น 

         บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
               บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้
         หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียง
         คนเดียว หรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้าของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
         ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
          1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
          2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
          3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น